ใบอนุญาตทำงาน

|  
 ตะกร้าสินค้า (0)
 

Workpermit Center

การขอใบอนุณาตการทำงานของคนต่างด้าว

          
    1. ความหมาย

คนต่างด้าว หมายถึง บุคคลธรรมดาซี่งไม่มีสัญชาติไทย ทำงาน หมายถึง
การทำงานโดยใช้กำลังกาย หรือความรู้ด้วยประสงค์ค่าจ้าง หรือประโยชน์อื่นใดหรือไม่ก็ตาม

2. คนต่างด้าวที่ยังไม่เข้ามาในราชอาณาจักร แต่ประสงค์จะทำงานต้องปฏิบัติดังนี้

- ติดต่อสถานทูต หรือสถานกงสุลไทยประจำประเทศที่คนต่างด้าวอาศัยอยู่เพื่อ
ขอคำแนะนำ และขอรับ การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (NON IMMIGRANT VISA)
ในหนังสือเดินทางเท่านั้น
- ให้นายจ้างในราชอาณาจักรยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานแทน
เมื่อได้รับแจ้งการอนุญาตแล้ว คนต่างด้าวจึงจะเดินทางเข้ามารับใบอนุญาตและทำงานได้

3. คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรแล้วประสงค์จะทำงานต้องปฏิบัติ ดังนี้

- คนต่างด้าวที่จะขออนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการ ลงทุน
หรือตามกฎหมายอื่นต้องยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เข้ามาใน
ราชอาณาจักร หรือ 30 วันนับแต่วันที่ทราบการได้รับอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายนั้นๆ
(ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท)
- คนต่างด้าว ไม่ว่าจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือคนต่างด้าวที่เข้ามา
ในราชอาณาจักรประเภทคนอยู่ชั่วคราว จะทำงานได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วเท่านั้น
โดยยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานตามแบบที่กฎหมายกำหนด (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน-
สามเดือนหรือปรับไม่เกินห้าพันบาทหรือทั้งปรับทั้งจำ)
- คนต่างด้าวที่ฝ่าฝืนทำงาน ซึ่งห้ามโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดงาน
ในอาชีพและวิชาชีพ
ที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ
ปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. คนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานแล้วประสงค์จะทำงานต้องปฏิบัติ ดังนี้

- ต้องมีใบอนุญาตติดตัวไว้ หรือมีอยู่ ณ ที่ทำการในระหว่างทำงานเพื่อแสดงต่อ
เจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลา(ผู้ฝ่าฝืนมี-โทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท)
- ต้องทำงานตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น หากประสงค์จะทำงานอื่นหรือ
เปลี่ยนท้องที่
หรือสถานที่ในการทำงานต้องได้รับอนุญาตก่อน (ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน -
หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ)
- คนต่างด้าว ที่ได้รับการขยายระยะเวลาการทำงาน ตามกฎหมายว่าด้วย
การส่งเสริมการลงทุนหรือตามกฎหมายอื่น ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วัน
นับแต่วันที่ได้นับการขยายระยะเวลา(ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท)
- ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ และประสงค์จะทำงานต่อ ต้องยื่นคำขอต่ออายุ
ใบอนุญาตก่อนจึงจะทำงานได้ (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน -
หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
- กรณีใบอนุญาตชำรุด หรือสูญหายต้องยื่นขอใบแทน ใบอนุญาตภายใน
15 วัน นับแต่วันที่ทราบ(ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท)
- กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล สัญชาติ ที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าวหรือชื่อสถานที่
ทำงานต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขโดยไม่ชักช้า เมื่อเลิกทำงานต้องคืนใบอนุญาต
ทำงานภายใน 7 วัน นับแต่วันเลิกทำงาน

5. นายจ้างที่ประสงค์จะจ้างคนต่างด้าวทำงานต้องปฏิบัติ ดังนี้

- ห้ามรับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือรับคนต่างด้าวเข้าทำงาน
ที่มีลักษณะ หรือเงื่อนไขต่างไปจากที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต
(ผู้ฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ)
- นายจ้างที่รับคนต่างด้าวเข้าทำงาน หรือให้ย้ายไปทำงานที่อื่นหรือออก
จากงาน
ต้องแจ้งภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่รับเข้าทำงาน หรือย้ายหรือออกจากงาน

6. การอุทธรณ์

กรณีที่ยื่นขอรับใบอนุญาตทำงาน และไม่ได้รับอนุญาต หรือไม่ได้รับการ
ต่ออายุใบอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ทำงานอื่น หรือไม่ให้เปลี่ยนท้องที่หรือ
สถานที่ทำงาน ผู้ขออนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อ
อธิบดีกรมการจัดหางาน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่งไม่อนุญาต

พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521


พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521


           มีผลบังคับใช้ตั้งแต่นที่ 22 กรกฎาคม 2521

วัตถุประสงค์
          1. เพื่อสงวนอาชีพซึ่งคนไทยทำได้ไว้สำหรับคนไทย
          2. เพื่อควบคุมการทำงานของคนต่างด้าวที่ขออนุญาตทำงานในประเทศไทย
          3. เพื่อส่งเสริมการลงทุนและการมีงานทำของประเทศ


คนต่างด้าว  หมายความว่า    
บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
ทำงาน        หมายความว่า     การทำงานโดยใช้กำลังกาย หรือความรู้ด้วยความ
                                                    
ประสงค์ค่าจ้างหรือประโยชน์อื่นใดหรือไม่ก็ตาม


สาระสำคัญ
          คนต่างด้าวจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมการจัดหางานหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย

เว้นแต่บุคคล

ในคณะผู้แทนทางทูต ผู้แทนทางกงสุล ผู้แทนของประทเศสมาชิกและพนักงานองค์การสหประชาชาติ และทบวงการชำนาญพิเศษ รวมทั้งผู้รับใช้ส่วนตัวของผู้แทนดังกล่าว บุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจตามความ

ตกลงที่รัฐบาลไทย

ทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรืองค์กรระหว่างประเทศ และบุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจเพื่อให้ความช่วยหลือ

แก่รัฐบาลในการพัฒนาการศึกษาของชาติ รวมทั้งการฝึกอบรมครู อาจารย์ และกรสอนนักศึกษาหรือนิสิตใน

ระดบวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยของรัฐ หรือเพื่อให้ความช่วยเหลือในการฝึกสอบการกีฬาให้แก่นักกีฬา

ตามข้อตกลงกับองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย หรือเพื่อเข้าร่วมในการแข่งขันกีฬาให้แก่นักกีฬาตามข้อ

ตกลงกับองคือ

การส่งเสริมการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือเพื่อเข้าร่วมในการแข่งขันกีฬาในราชอาณาจักรเป็นเวลา

ไม่เกินสามสิบวัน

หรือเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมหรือศิลปะ โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีหรือเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับ

การจัดประชุม การจัดสัมมนาหรือนิทรรศการ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ร่วมจัดหรือ

ได้รับทราบและมีกำหนดเวลาไม่เกินสามสิบวัน หรือบุคคลซึ่งรัฐบาลอนุญาตหใข้มาปฏิบัติหน้าที่หรือ

ภารกิจอย่างหนึ่งอย่างใด

คนต่างด้าวที่มีสิทธิขอออนุยาตทำงานได้ในปัจุบัน มี 3 ประเภท คือ
          (1) คนต่างด้าวทั่วๆ ไป (ตามมาตรา 7) หมายถึง คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร

หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA) เช่น เข้ามาทำธุรกิจ

หรือการปฏิบัติหน้าที่สือมวลชน
          (2) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสิรมการลงทุน หรือตามกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับคนต่างด้าวในลักษณะเดียวกัน (ตามมาตรา 10)
          (3) คนต่างด้าวตามมาตรา 12 ได้แก่ คนต่างด้าวที่ถูกเนรเทศ หรือที่อยู่ในระหว่างการรอเนรเทศ

คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และอยู่ในระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักร

คนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรแต่ไม่ได้รับสัญชาติไทยหรือถูกถอนสัญชาติ

การยื่นคำขออนุญาตทำงาน
          (1) คนต่างด้าวที่ยังไม่ได้เดินทางมาในราชอาณาจักร ประสงค์จะทำงาน ให้ติดต่อสถานฑูต หรือสถานกงสุลไทยประจำประเทศที่คนต่างด้าวอาศัยอยู่ หรือให้นายจ้างในราชอาณาจักร ยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานแทน

เมื่อได้รับแจ้งการอนุญาตแล้ว จึงเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อขอรับใบอนุญาตทำงานได้
 
          (2) คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ประสงค์จะทำงานต้องปฏิบัติดังนี้ 
                - คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาเป็นการชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA)
และไม่เป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติหรือต้องห้ามตามเงื่อนไขที่กำหนด จะทำงานได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตทำงานแล้วเท่านั้น (ตามมาตรา 7)
                - คนต่างด้าวที่เข้ามาเป้นการชั่วคราว เพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนไม่เกิน 15 วัน

ไม่ต้องขออนุญาต

แต่ต้องแจ้งอธิบดีหรือเจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีมอบหมายทราบ
               - คนต่างด้าวที่จะขออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือตามกฎหมายอื่น

(ตามมาตรา 10) ต้องยื่นขอรับใบอนุญาตทำงาน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เข้ามา หรือ 30 วัน

นับแต่วันที่ทราบการได้รับอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายนั้นๆ โดยระหว่างรอรับใบอนุญาตให้ผู้ยื่นคำขอทำงาน

ไปพลางก่อนได้
          (3) คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และอยู่ในระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักร (ตามมาตรา 12) หากจะทำงานคนต่างด้าวจะต้องยื่นคำขอรับ

ใบอนุญาตทำงาน เมื่อได้รับอนุญาตจึงจะทำงานได้  
  
ระยะเวลาการอนุญาต  
          (1) คนต่างด้าวตามมาตรา 7 จะพิจารณาให้ตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 1 ปี และให้มีอายุเท่าระยะเวลาที่คนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้เข้ามาเป็นการชั่วคราว
          (2) คนต่างด้าวตามมาตรา 10 จะได้รับอนุญาตตามระยะเวลา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอนุญาต 
          (3) คนต่างด้าวตามมาตรา 12 ซึ่งสามารถทำงานได้ 27 อาชีพ ตามที่รัฐมนตรีกำหนดระยะเวลาอนุญาต

ไม่เกิน 1 ปี
          (4) กรณีคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้เข้ามาเป็นการชั่วคราว โดยไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน ให้มีอายุ 30 วัน

 นับแต่วันออกใบอนุญาตทำงาน
 
การต่ออายุใบอนุญาต  
          (1) คนต่างด้าวจะต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานก่อนที่ใบอนุญาตจะหมดอายุ 
         (2) ถ้าหากคนต่างด้าวยื่นภายในเวลากำหนดแล้ว สามารถทำงานไปพลางก่อนได้ จนกว่านายทะเบียนจะแจ้งผลการพิจารณาต่อใบอนุญาตหรือไม่อนุญาต  
         (3) การต่ออายุใบอนุญาตจะไดรับการพิจารณาครั้งละไม่เกิน 1 ปี ปี 2544 ได้มีการปรับปรุงอัตรา

ค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 ให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจที่

เปลี่ยนแปลงไป โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่นที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นมา

ข้อมูลข่าวจาก : สจจ.ลพบุรี / ผู้ลงประกาศ : สจจ.ลพบุรี

  
Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 37,042 Today: 6 PageView/Month: 47

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...